OMAKASE
WORLD BLOG

Waribashi 割り箸 รู้คำตอบที่ตะเกียบญี่ปุ่นต้องติดกัน ความใส่ใจเล็กน้อยของอาหารญี่ปุ่น

            ญี่ปุ่นได้ชื่อว่าประเทศที่มีวัฒนธรรมการกินที่โดดเด่น ชอบประดิษฐ์และคิดค้นนู้นนี่นั่นเต็มไปหมดเพื่อให้การใช้สามารถดำเนินชีวิตได้ง่ายขึ้น เคยสงสัยไหมตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้งทำไมต้องติดกัน? ตะเกียบญี่ปุ่นติดกันแบบนี้เริ่มมาจากไหน? เรามาทำความรู้จักกับวาริบาชิ (Waribashi) ที่ใช้ในอาหารญี่ปุ่นกันเถอะ

 

 

กว่าจะมาเป็นตะเกียบวาริบาชิ (Waribashi) ของญี่ปุ่น

วัฒนธรรมการกินอาหารญี่ปุ่นโดยใช้ตะเกียบเริ่มขึ้นในสมัยปลายยุคยาโยอิโดยการรับเอาอิทธิพลมาจากประเทศจีน สมัยนั้นตะเกียบทำจากไม้ไผ่และมีเพียงจักพรรดิองค์เดียวเท่านั้นที่ได้ใช้ พอมาถึงยุคอาสุกะมีการรับเอาวิธีการวิธีเตรียมอาหารและการใช้ตะเกียบมาจากประเทศจีนอีกครั้งโดยเจ้าชายโชโทคุ ไทชิ ที่ถูกส่งตัวไปเป็นฑูตที่ประเทศจีน จนถึงยุคนาราที่คนทั่วไปเริ่มทำตะเกียบขึ้นมาใช้เองบ้าง กระทั่งในสมัยยุคคามะคุระตะเกียบถูกนำมาใช้ทานอาหารญี่ปุ่นกันอย่างแพร่หลายและได้กลายมาเป็นวัฒนธรรมในการกินอาหารของญี่ปุ่น 

           หลังจากนั้นญี่ปุ่นได้เริ่มคิดค้นและออกแบบตะเกียบให้สามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้นจนเกิดเป็นตะเกียบเคลือบเงาในสมัยเอโดะ พอมาถึงยุคโชวะที่ 10 ตะเกียบถูกแปลงโฉมอีกครั้งซึ่งมีการทำออกมาในรูปแบบตะเกียบของตะเกียบติดกันที่ใช้แล้วทิ้งเรียกว่า “วาริบาชิ (Waribashi)” เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน

 

 

การใช้ตะเกียบญี่ปุ่นกับการกินอาหารญี่ปุ่น

คนญี่ปุ่นมีความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ตะเกียบที่มีอิทธิพลมาจากจีนเช่นเดียวกัน เช่น ห้ามปักตะเกียบลงบนอาหารเพราะเหมือนปักธูปไหว้คนตาย ห้ามใช้ตะเกียบชี้หน้าเพราะเป็นการกระทำไม่สุภาพ และไม่ควรดมหรือดูดตะเกียบเพราะเป็นกิริยาที่เสียมารยาท เป็นต้น จนมีประโยคหนึ่งที่คนสมัยก่อนของญี่ปุ่นมักกล่าวกันว่า “การใช้ตะเกียบสะท้อนให้เห็นถึงการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่” 

 

 

คนไทยเริ่มใช้ตะเกียบเมื่อไหร่

ในอดีตคนไทยใช้มือทานอาหารต่อมาจึงได้รู้จักกับตะเกียบในการทานอาหารก่อนช้อนส้อมเสียอีกแต่คนไทยนิยมทานอาหารโดยใช้ช้อนส้อมมากกว่าตะเกียบ มีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยไม่ได้รับเอสตะเกียบเข้ามาอยู่ในวัฒนธรรมการกินแต่คนไทยก็ไม่ปฏิเสธที่จะใช้ตะเกียบในการทานอาหารเพราะในไทยยังมีอาหารจีนที่เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทย 

                จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือสามก๊กของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สมัยรัชกาลที่ 1 จะมีคำว่า “ตะเกียบ” อยู่คาดว่าคนไทยน่าจะรู้จักคำว่า “ตะเกียบ” ครั้งแรกจากหนังสือเล่มนี้ และมีการสันนิษฐานว่า “ตะเกียบ” ไม่น่าจะใช่ภาษาจีน น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า “เต็กเกี้ย, เต็กโก่ย, เต็กเกี๊ยบ” ที่แปลว่า ไม้คีบ มากกว่า

 

 

ทำไมตะเกียบญี่ปุ่นในร้านอาหารญี่ปุ่นต้องติดกัน

ตะเกียบติดกัน ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “วาริบาชิ” เกิดขึ้นจากความรู้สึกเสียดายเศษไม้ที่เหลือจากการแปรรูปไม้สนญี่ปุ่นมาทำเป็นตะเกียบและเกิดเป็นตะเกียบติดกันที่ใช้แล้วทิ้งขึ้นมา ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นได้นำเอาตะเกียบวาริบาชิมาใช้เพื่อเป็นการสื่อสารให้กับลูกค้าว่า “เราได้เตรียมตะเกียบใหม่ที่ยังไม่ผ่านการใช้งานมาให้คุณโดยเฉพาะ” นั่นเอง เพราความใส่ใจที่คำนึงถึงลูกค้าเป็นลำดับแรก ทำให้อาหารญี่ปุ่นครองใจใครหลายคน

                   โอมากาเสะหนึ่งในคอร์สอาหารญี่ปุ่นที่ใช้ใจเป็นหลัก เพราะเชฟจะทุ่มเทด้วยใจตั้งแต่ขั้นตอนการคัดสรรวัตถุดิบจากแหล่งที่ดีที่สุดของญี่ปุ่น มาถึงกระบวนการเตรียมวัตถุดิบที่ใช้ทั้งประสบการณ์และทักษะชั้นสูงที่จะเนรมิตอาหารญี่ปุ่นชั้นสูงให้มีรสชาติที่ร้อยเรียงความอร่อยแปลกใหม่ที่คุณต้องประทับใจ และต้องผสมศาสตร์และศิลป์ในการนำเสนออาหารญี่ปุ่นสุดพิเศษแด่ลูกค้าคนสำคัญ มาเป็นหนึ่งในแขกคนพิเศษของเราได้เลยที่ Sushi Koge ร้านโอมากาเสะย่านอารีย์ได้แล้ววันนี้!

                   Sushi Koge ตั้งอยู่ชั้น B วานิชวิลเลจ อารีย์ (Vanit Village Aree) เปิดให้บริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดทำการทุกวันจันทร์) มีรอบให้บริการดังนี้ เวลา 12.00/13.45/18.00/19.45 น. ใช้เวลาในการเสิร์ฟรอบละ 1.30 ชม. (จำกัด 12 ที่นั่งต่อรอบ) สามารถสำรองที่นั่งได้ที่ https://lin.ee/CdamYNj หรือ โทร. 099-003-9039