OMAKASE
WORLD BLOG

โชยุ 醤油 (Shoyu) ซอสญี่ปุ่น ที่เพิ่มความอร่อยให้โอมากาเสะ

             

            โชยุ หรือซีอิ๊ว เครื่องปรุงรสของอาหารญี่ปุ่น มักใช้ในอาหารต่างๆ เช่น ซูชิ ข้าวผัด อาหารผัด และราเมน รู้หรือไม่? โชยุที่เราเห็นคู่กับอาหารญี่ปุ่นมีรหลายประเภทนะ และเหมาะกับอาหารญี่ปุ่นที่ต่างกันด้วย อยากรู้แล้วใช่ไหมว่าโชยุมีกี่ประเภท และต่างกันอย่างไร วันนี้ ทุกคนจะได้รู้จักโชยุเครื่องปรุงรสอเนกประสงค์ยอดนิยมของญี่ปุ่นกันครับ

 

 

ส่วนผสมหลักที่ช่วยชูรสชาติของโชยุ

โชยุ หรือซอสถั่วเหลือง เครื่องปรุงรสที่มีหน้าตาคล้ายกับซีอิ๋ว มีส่วนผสมหลัก ๆ คือ

  1. ถั่วเหลือง

วัตถุดิบหลักของโชยุ คือ ถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการทำความสะอาดทั้งแช่ นึ่ง หรือคั่ว เพื่อเตรียมพร้อมก่อนนำไปผสมกับวัตถุดิบชนิดอื่น

  1. ข้าวสาลี

ข้าวสาลีเป็นอีกวัตถุดิบที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราจะช่วยทำให้รสชาติของซีอิ๋วมีความอร่อยมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วมักจะนำไปใช้ในอัตราส่วนเท่า ๆ กับถั่วเหลือง เพื่อเพิ่มความหอมให้โยุมากขึ้น

  1. เกลือและน้ำ

ส่วนผสมทั้งสองอย่างนี้ จะเจ้าไปช่วยในกระบวนของการหมัก โดยเกลือจะทำหน้าที่เป็นสารกันบูด ช่วยยืดอายุของอาหารให้ยาวนานยิ่งขึ้น

  1. ราโคจิ

เป็นอีกส่วนผสมสำคัญที่ข่วยสร้างรสชาติให้กับโชยุ โดยจะเข้าไปสลายโปรตีนและแป้ง เพื่อให้ได้โชยุที่มีรสชาติอูมามิตามที่ต้องการ

 

 

โชยุ 6 ประเภท กับความอร่อยที่แตกต่าง

โชยุมีหลากหลายชนิด ซึ่งเกิดการคิดค้นและพัฒนามาจากวัฒนธรรมอาหารของแต่ละภูมิภาคของญี่ปุ่น โดยแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ

 

  1. โชยุแบบใส

โชยุประเภทนี้จะมีสีออกเหลืองใส เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการหมักและบ่มที่น้อยกว่าทำให้มีสีที่ใสกว่าโชุที่เราคุ้นเคย จึงเหมาะสำหรับใช้กับข้าว และซุป หรืออาหารที่ไม่ต้องการให้สีอาหารเปลี่ยน

  1. โชยุแบบอ่อน

โชยุประเภทนี้ ประกอบด้วยข้าวสาลีและถั่วเหลืองในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กัน จากนั้นนำไปหมักหรือบ่มโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 4-8 เดือน จึงได้สีน้ำตาลอ่อน ๆ แต่มีประปริมาณของเกลือที่สูงกว่าโชยุแบบใส คนญี่ปุ่นนิยมนำโชยุประเภทนี้ไปทำน้ำสต๊อก

  1. โชยุแบบหวาน

โชยุรสหวานเป็นเครื่องปรุงรสที่มีชื่อเสียงในภูมิภาคคิวชูและโฮคุริกุ ทำจากส่วนผสมหลักอย่างถั่วเหลือง ข้าวสาลี สารละลายกรดอะมิโน และสารให้ความหวาน จึงกับอาหารประเภทข้าวปั้น และซาซิมิปลาเนื้อขาว

  1. โชยุแบบมาตรฐาน

โชยุที่ใช้กันมากในญี่ปุ่นคิดเป็น 80% เลยทีเดียว ลักษณะของโชยุประเภทนี้ คือ มีสีที่น้ำตาลเข้ม ประกอบด้วยข้าวสาลีและถั่วเหลือง ซึ่งใช้เวลาหมักเป็นเวลานานตั้งแต่ 2 เดือน ไปจนถึง 3 ปี ทำให้โชยุมีรสชาติที่เข้มข้นเหมาะสำหรับใช้เป็นเรื่องปรุงอาหารญี่ปุ่นหลายชนิด

  1. โชยุแบบเข้มข้น

โชยุประเภทนี้ใช้ถั่วเหลืองเป็นส่วนผสมหลัก จากนั้นนำไปบ่มจนได้สีและรสชาติที่เข้มข้น เหมาะสำหรับนำไปใช้ในเมนูเทอริยากิมากที่สุด นิยมใช้กันในแถบจังหวัดไอจิ มิเอะ และกิฟุ

  1. โชยุแบบทามาริ

เป็นโชยุที่มีวัตถุดิบหลัก คือ ถั่วเหลืองที่ผ่านการหมักนานถึง 1 ปี จึงได้รสชาติที่เข้มข้นมาก ๆ เหมาะสำหรับอาหารจำพวกซอสราดอาหารญี่ปุ่น เป็นน้ำจิ้มซาซิมิ เป็นต้น

 

 

อร่อยกับรสชาติที่หลากหลายที่ Sushi Koge

นอกจากโชยุที่ให้รสชาติที่ต่างกันแล้ว ที่ sushi koge เองก็ให้คุณได้สัมผัสกับรสชาติของอาหารที่แตกต่างกันตามฤดูกาล เพีนงคุณก้าวเข้ามาในร้านคุณจะได้รับรู้ถึงบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เพื่อให้คุณและคนรักได้เติมเต็มรสชาติของความอร่อยและความสุขไปพร้อม ๆ กัน เพราะเชฟให้ความสดใหม่และคุณภาพของวัตถุดิบมากที่สุด และพร้อมเนรมิตความอร่อยผ่านการปรุงรสจากใจอย่างพิถีพิถันในทุก ๆ คำ เสิร์ฟลงบนจานคราฟที่บรรจงแต่งแต้มสีสันให้มื้อนี้ของคุณพอเศษกว่าเคย

 

               Sushi Koge ตั้งอยู่ชั้น B วานิชวิลเลจ อารีย์ (Vanit Village Aree) เปิดให้บริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดทำการทุกวันจันทร์) มีรอบให้บริการดังนี้ เวลา 12.00/13.45/18.00/19.45 น. ใช้เวลาในการเสิร์ฟรอบละ 1.30 ชม. (จำกัด 12 ที่นั่งต่อรอบ) สามารถสำรองที่นั่งได้ที่ https://lin.ee/CdamYNj หรือ โทร. 099-003-9039